Friday, October 27, 2017


The Garden of God

Artist : Kriangkrai Kongkhanun 
The Garden of God, Chapter 6 : Fire Lion
Acrylic on canvas, 80 x 60 cm, 2017

The Buddha found that human suffering did not happen coincidently, but it was caused by a reason, as well as other phenomena which resulted from people’s actions. Karma is the law of logic; it is an international law for living things. Those causes of suffering are not beyond human control[1]; suffering which is like sinking into the bottom of a mind full of emotions like fear, suspicion, confusion, madness, desire, etc., all of which are combined inseparably. Suffering also includes what is abnormal which may be caused by imagination or reality. To sense the songs of the soul causes humans to want to become untangled from earthly things in order to find the serene land.

“The Garden of God” is a journey of the state of mind. I used the falling state of the human mind to create a mysterious kingdom filled with imaginative dimensions. Its shape was modified by my perceptions of humans, monsters, plants and beasts. Inspiration was gathered from Buddhist stories, such as the teaching in The Three Kingdoms, in order to portray the mysterious kingdom. Thoughts of this heavenly kingdom by men may not completely cast away the desires hidden inside them.

Humans have endless desires; therefore, the symbols represent different meanings. For example, the deity, heaven, animals and sacred objects represent the illusions created to fulfil needs. Thus, I created the shapes in my imagination based on ancient Thai, Bhutanese and Tibetan art and developed the story, while including methods to express the strong visual elements using vivid colors and symbols to represent the subject’s state. 

Pixiu represents the secured desires, happiness and wealth. It is believed to be the sacred animal which protects and dispels danger, evil spirits and bad things, as well as attracting fortune and wealth.

Artist : Kriangkrai Kongkhanun
The Garden of God, Chapter 3 : Pi Xiu
Acrylic on canvas, 120 x 80 cm, 2017

Garuda represents longevity, power, might and intelligence.

The owl is an animal scared of light and always hides itself in the dark shadow. Therefore, it represents Satan who is known for being the King of the Dark. It is believed that owls like to lure other animals to the huntsman’s trap the way Satan lures humanity[2].

Artist : Kriangkrai Kongkhanun 
The Garden of God, Chapter 5 : Immortal Garuda
Acrylic on canvas, 80 x 60 cm, 2017
The scales represent a person trying to build one’s own shields to protect oneself. The shield represents precepts, which are created to warn people of sin. However, sometimes humans cannot block their senses from the impact of their feelings.

The snake symbolizes evil and deception. The snake in the middle of the heart represents the evil human mind which allows negative emotions to take over.

The eyes represent the people who are suspicious of their wrongdoings, who always keep watch and cannot live happily. The eyes falling on the ground represent the mind which becomes removed from the body.

The flower represents life, birth and breath, and it also symbolizes blood and loss.

The mask represents concealment. People who wear the mask are like people who try to conceal their dark sides. The mask cannot really conceal the true self for the people who commit sin and try to hide it. However, the sin will haunt them and prevent them from being happy. The corrupted mind will drag the person to the bottom.

The primeval Christian-style bird represents “the flying spirit”. Before, the artist drew birds according to the species, all species of birds represented the soul which was located opposite the object. Using the bird as the spiritual symbol can be traced back to the ancient Egyptian-era when birds were used as spiritual symbols[3].

The spider represents the serpent because the serpent prepares the trap to trap astray humans the way the spider spin its web to catch its prey. The spider symbolizes malevolence of bad people. Its web will catch and trap the prey. The web itself symbolizes vulnerability of humans[4].

The fire ball represents the burning sexual desire which is released without control and cannot be kept inside.

Artist : Kriangkrai Kongkhanun
The Garden of God, Chapter 1 : Golden Snake
Acrylic on canvas, 80 x 120 cm, 2017

These works of mine started from the “knots” within the depth of my mind. I questioned myself, connected the dots in society and finally came back to solve my own problems. These works represent the ways I loosened the knots in my mind by thinking of and considering myself and the contradicting state in my imagination which was hidden. I conveyed the meaning of desires using the stories combined with concepts and emotions through living things in the land of spirit in order to encourage the release of things in order to reach the kingdom of happiness.
 Kriangkrai Kongkhanun




[1] William Hart, The Art of Living (Bangkok: Pimdee, 2010), 49.
[2] George Ferguson, Signs and Symbols in Christian Art, 18.
[3] George Ferguson, Signs and Symbols in Christian Art, 3.
[4] George Ferguson, Signs and Symbols in Christian Art, 22.


The Garden of God

Artist : Kriangkrai Kongkhanun (เกรียงไกร กงกะนันทน์)
Story of Life, Chapter 1 : Firebloom
Acrylic on canvas, 180 x 250 cm
2015 - 2016

          พระพุทธเจ้าทรงพบว่าความทุกข์ของคนเรานั้นมิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มีสาเหตุอยู่เบื้องหลัง   เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย ก็ล้วนแต่มีเหตุอันเป็นที่มาทั้งสิ้น กรรม คือกฎของเหตุและผลนี้ เป็นกฎ สากลและเป็นกฎพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือการควบคุมของ เราเสียทีเดียว[1] การจมลงสู่ก้นบึ้งของจิตที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เช่น ความกลัว หวาดระแวง เยือกเย็น หนาว เหน็บ สับสน บ้าคลั่ง ร้อนรุ่ม ทุกสิ่งทุกอย่างถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้  รวมทั้งสิ่งที่เป็นสิ่งผิดปกติทั้งอาจเกิดขึ้นในจินตนาการและเกิดขึ้นจริง การสัมผัสได้ถึงสัญญะแห่งจิตวิญญาณ ทำให้อยากปลดเปลื้องสิ่งต่างๆเพื่อแสวงหาดินแดนความสุข    
                             “The Garden of God” เป็นการเดินทางสำรวจสภาวะแห่งจิต โดยข้าพเจ้าใช้สภาวะดำดิ่งที่อยู่ในจิตใจสร้างอาณาเขตแห่งดินแดนลึกลับ มิติแห่งจินตนาการซึ่งเต็มไปด้วยผัสสะแห่งจินตนาภาพ โดยได้ดัดแปลงรูปทรงจากที่เคยรับรู้เรื่องราวของมนุษย์ สัตว์ประหลาด พืชและสัตว์เดรัจฉาน ผ่านเรื่องราวของพุทธศาสนา เช่น คำสอนในไตรภูมิกถา เพื่อแสดงออกถึงดินแดนลึกลับ เป็นสภาวะนามธรรมที่ต้องการหลุดพ้น แต่การจินตนาการถึงดินแดนแห่งสวรรค์โดยมนุษย์คงมิอาจละทิ้งกลิ่นของกิเลสที่แฝงอยู่ภายในได้ อย่างหมดจด  
                            ด้วยมนุษย์มีความปรารถนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด สัญลักษณ์ต่างๆจึงถูกแทนค่า ความหมาย เช่น เทพเจ้า สรวงสวรรค์ สัตว์และสิ่งมงคลต่างๆ เป็นเสมือนภาพมายาที่สร้างขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ข้าพเจ้าจึงสร้างรูปทรงขึ้นจากในจินตนาการ โดยได้ต้นแบบมาจากงานศิลปะไทย ภูฏาน และธิเบตโบราณ แต่ได้พัฒนาเรื่องราวและการแสดงออกในบุคลิกภาพของตนเอง รวมไปถึงเทคนิควิธีการที่แสดง ทัศนะธาตุที่ดูรุนแรง ใช้สีสันที่สดใส โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนสภาวะนามธรรม เช่น
                           ปี่เซียะ เปรียบเหมือนตัวแทนความปรารถนาที่จะอยู่อย่างปลอดภัย  เป็นสุข ร่ำรวย โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตราย ภูตผีปีศาจ สิ่งไม่ดี ตลอดจนเรียกทรัพย์ และความร่ำรวย
                           ครุฑแสดงถึงความอยากมีชีวิตที่ยืนนาน ความมีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล มีสติปัญญาเฉียบแหลม
 นกฮูก เป็นสัตว์ที่กลัวแสงสว่างและชอบซ่อนตัวอยู่ในเงามืด จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของซาตานผู้มีสมญาว่าเจ้าชายแห่งความมืด เชื่อกันว่านกฮูกชอบลวงสัตว์อื่นๆ ไปติดแร้วของนายพราน เช่นเดียวกับซาตานลวงล่อมนุษยชาติ[2]

Artist : Kriangkrai Kongkhanun 
The Garden of God, Chapter 4 : Fire Owl 
Acrylic on canvas, 120 x 80 cm, 2017

เกล็ดตามตัวเปรียบเหมือนคนเราพยายามสร้างเกราะขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเอง เกราะคือนัยยะของศีลธรรม เราสร้างระบบศีลธรรมขึ้นมา เพื่อจะให้คนได้เกรงกลัวต่อบาป แต่บางครั้งไม่อาจปิดกั้นประสาทสัมผัสจาก สิ่งที่มากระทบอารมณ์ความรู้สึกได้
งู สัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย ความหลอกลวง งูที่อยู่ตรงตำแหน่งของหัวใจเปรียบเหมือนคนที่มีจิตใจชั่วร้าย ปล่อยให้อารมณ์ด้านลบเข้าครอบงำ 
ตาหลายตาเปรียบเหมือนคนที่หวาดระแวง จากการกระทำผิด ต้องคอยระวัง หวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา จนไม่สามารถอยู่อย่างเป็นปกติสุข ดวงตาที่กำลังล่วงลงสู่พื้น เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของจิตที่หล่นหายไปจากร่างกาย
ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต แสดงถึงชีวิตที่กำลังเกิดและลมหายใจ ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ของเลือดและการสูญเสีย
หน้ากาก เป็นสัญลักษณ์ของการปกปิด ซ่อนเร้น คนที่ใส่หน้ากากเปรียบเหมือนคนที่พยายามปกปิดสิ่งที่ไม่ดีไม่งามไว้ภายใน ซึ่งหน้ากากไม่อาจปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้คนที่ทำความผิด บาป มักจะพยายามปกปิดสิ่งที่ชั่วร้าย ไว้ข้างในโดยไม่แสดงออก สิ่งเหล่านั้นจะคอยหลอกหลอนจิตใจ ไม่ให้พบความสุข จิตที่เป็นอกุศลจะฉุดกระชากให้ตกต่ำ จมลงสู่ก้นบึ้ง เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เช่น ความกลัว หวาดระแวง เยือกเย็น หนาวเหน็บ สับสน บ้าคลั่ง ร้อนรุ่ม
นก คริสตศิลป์ยุคแรกใช้นกเป็นสัญลักษณ์ของ จิตวิญญาณซึ่งมีปีกที่โบยบินก่อนหน้าที่ศิลปินจะเจาะจงเขียนรูปนกตามชนิดของมัน นกทุกชนิดใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณ อันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับวัตถุ การใช้นกเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณย้อนหลังไปได้จนถึงศิลปะอียิปต์ยุคโบราณ การใช้นกเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณ[3]
แมงมุม เป็นสัญลักษณ์ของพญามาร เนื่องจากพญามารเตรียมกับดักไว้คอยดักจับมนุษย์ที่หลงผิดดังเช่นแมงมุมชักใยไว้ดักจับเหยื่อ แมงมุมเป็นสัญลักษณ์แห่งความมุ่งร้ายของคนชั่ว ซึ่งเครือข่ายของพวกมันจักต้องถูกทำลายเช่นเดียวกับใยแมงมุม ตัวใยแมงมุมเองเป็นสัญลักษณ์แห่งความอ่อนแอของมนุษย์[4]
ลูกไฟ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แสดงถึงความเร่าร้อนแห่งอารมณ์บ่งบอกถึงอารมณ์ปรารถนาทางเพศ ที่ถูกปลดปล่อย โดยไม่สามารถควบคุมและเก็บไว้ภายใน

Artist : Kriangkrai Kongkhanun 
The Garden of God, Chapter 7 : Blue Dragon
Acrylic on canvas, 80 x 60 cm, 2017

       ผลงานชุดนี้ของข้าพเจ้าเริ่มต้นจาก ปม ที่อยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ การตั้งคำถามกับ ตัวเองและขยายเชื่อมโยงไปยังวงกว้างของสังคม และสุดท้ายวกกลับมาเพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง ผลงานชุดนี้เปรียบเสมือนการค่อยๆ คลี่คลายปมในใจของข้าพเจ้า โดยการคิด พิจารณาถึงตัวตนสภาวะขัดแย้งภายใน  มโนภาพที่ถูกซ่อนเร้น ข้าพเจ้าสื่อความหมายของกิเลสโดยถ่ายทอดเรื่องราว ผสมผสานแนวความคิดและอารมณ์ความรู้สึกผ่านสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นนัยยะดินแดนแห่งวิญญาณ เพื่อกระตุ้นเตือนถึงการปลดเปลื้องสิ่งต่างๆเพื่อแสวงหาดินแดนความสุข   
เกรียงไกร กงกะนันทน์





[1]วิลเลียม ฮาร์ท, ศิลปะในการดำเนินชีวิต (กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2553),  49.
[2]จอร์จ เฟอร์กูสัน, เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในคริสตศิลป์,  18.
[3]จอร์จ เฟอร์กูสัน, เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในคริสตศิลป์, 3.
[4]จอร์จ เฟอร์กูสัน, เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในคริสตศิลป์, 22.

No comments:

Post a Comment